เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) : มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง

(นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week7

Week
Input
Process
Output
Outcome
18
โจทย์ :
- การเลือกซื้อ
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
Key  Questions :
- นักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออาหารอย่างไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าเครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก. มีความเกี่ยวข้องกับอาหารที่เราเลือกซื้อมารับประทานอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Show and Share
- place mat
- Brainstorm
- Mind Mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บทความเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภค
ภาพเกี่ยวกับผู้ซื้อ เลือกอาหารตามท้องตลาด
ภาพสัญลักษณ์ เครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก.
- คอมพิวเตอร์
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง :
- นักเรียนอ่านบทความเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภค  
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออาหารอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหาร
- นักเรียนศึกษาข้อมูลการเลือกซื้ออาหารประเภทต่างๆกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
อังคาร 2 ชั่วโมง
ใช้ :
- นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาสร้างชิ้นงานชาร์ตความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารประเภทต่างๆและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียน


พุธ 2 ชั่วโมง
ชง :
- ครูแจกฉลากขนม/กล่องนม ใช้คำถามกระตุ้นคิด
“ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ บอกอะไรกับเราได้บ้าง?”
“นักเรียนคิดว่าข้อมูลโภชนาการบอกอะไรกับเราได้บ้าง?”
“สัญลักษณ์บนเครื่องหมาย อย. บอกอะไรกับเราได้บ้าง”
เชื่อม :
นักเรียนสืบค้นข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
ใช้ : นักเรียนสรุปจากฉลากขนม/กล่องนม โดยใช้เครื่องมือคิด Mind Mapping
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
ใช้ :
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกซื้อสิ้นค้าอย่างปลอดภัย
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ เครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก.  กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมีความสำคัญอย่างไรกับผู้บริโภค
- ศึกษาส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ ข้อมูลโภชนาการ

ชิ้นงาน
- place mat  การเลือกซื้ออาหารอย่างปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- ชาร์ตเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
- Mind Mapping ฉลากขนม/กล่องนม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจการเลือกซื้ออาหารอย่างมีวิจารณญาณ และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ทักษะ
ทักษะการวางแผน
สามารถวางแผนเกี่ยวกับการทำงานตรงตามระยะเวลาที่กำหนดได้อย่างครอบคลุม
ทักษะICT
สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้อและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับออกแบบการเรียน และสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการเรียนรู้
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ตัวอย่างภาพกิจกรรมการเรียนรู้








ตัวอย่างสรุปการเรียนรายสัปดาห์





1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆม. 1 ได้ทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่องระบบต่างๆของร่างกาย โดยครูให้แบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ และในสัปดาห์นี้พี่ๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิการคุ้มครองผู้บริโภค เครื่องหมายการค้าและการอ่านข้อมูลโภชนาการ การละเมิดลิขสิทธิ์ และกฎหมายในการคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภค จากคำถามกระตุ้นคิด “ ถ้าพี่ๆเป็นคนสร้างกฎหมายการคุ้มครองผู้ผลิต และผู้บริโภคพี่ๆจะทำได้อย่างไร”
    พี่แจ๊บ : ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารจากคลิปวิดีโอที่ครูเปิด เช่น บอแรกซ์ พบในลูกชิ้น หมูบด ไส้กรอก อะฟลาทอกซิน พบในถั่วลิสง หัวหอม กระเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถบอกได้ว่า กฎหมายและข้อห้ามแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ข้อห้าม คือ ห้ามไม่ให้ขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับรองจากกระทรวงสาธารณสุข แต่กฎหมาย คือ ผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธรณสุขก่อนจำหน่าย
    ซึ่งแต่ละคนก็ได้สรุปความเข้าใจของตนเอง และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ